เครื่องเป่า
หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้ลมเป่าให้เกิดเสียง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ
1.
ประเภทที่มีลิ้น ซึ่งทำด้วยใบไม้ หรือไม้ไผ่ หรือโลหะ
สำหรับเป่าลมเข้าไปในลิ้นๆจะเกิดความเคลื่อนไหวทำให้เกิดเสียงขึ้น เรียกว่า "
ลิ้นปี่ " และเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า " ปี่ "
2.
ประเภทไม่มีลิ้น มีแต่รูบังคับให้ลมที่เป่าหัก มุมแล้วเกิดเป็นเสียง เรียกว่า
" ขลุ่ย "
ทั้งปี่และขลุ่ย มีลักษณะเป็นนามว่า " เลา
"มีวิธีเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การเป่าด้วยการระบายลม
ซึ่งให้เสียงปี่ดังยาวนานติดต่อกันตลอด
เครื่องเป่าที่มีลิ้น
ปี่ใน
เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มา แต่โบราณ ที่เรียกว่า
"ปี่ใน " ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้ เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า
" เสียงใน " ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเป็นพื้นฐาน
ตัวเลา ทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้พยุง กลึงให้ป่องกลาง และบานปลายทั้งสองข้าง
ภายในเจาะเป็นรูกลวงตลอดหัวท้าย มีรูสำหรับเปิดปิดนิ้ว 6รู โดยให้ 4
รูบนเรียงลำดับเท่ากัน เว้นห่างพอควรจึงเจาะอีก 2 รู ระหว่างช่องตอนกลางของแต่ละรู
จะกรีดเป็นเส้น ประมาณ 3เส้นเพื่อให้สวยงาม ตอนหัวและตอนท้าย
ของเลาปี่จะมีวัสดุกลมแบน ทำด้วยยาง หรือไม้มาเสริม
โดยเฉพาะตอนบนสำหรับสอดใส่ลิ้นปี่เรียกว่า " ทวนบน "
ส่วนตอนล่างจะใช้ตะกั่วมาต่อ สำหรับลดเลื่อนเสียงเรียกว่า " ทวนล่าง "
ตัวเลาปี่นอกจากจะทำด้วยไม้ แล้วยังพบปี่ซึ่งทำด้วยหิน เป็นของเก่าแต่โบราณ
ปี่นอก
มีขนาดเล็กสุด ใช้เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรี ในการเล่นโนราห์ หนังลุง
และละครชาตรี ต่อมาได้เข้ามาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่และ
เครื่องใหญ่ โดยเป่าควบคู่ไปกับปีใน มีระดับเสียง สูงกว่าปีใน
มีวิธีเป่าคล้ายคลึงกับปี่ใน
ปี่นอกต่ำ มีขนาดใหญ่กว่าปี่นอก
มีเสียงต่ำกว่าปี่นอก จึง เรียกว่า " ปี่นอกต่ำ "
เคยใช้เป่าในวงปี่พาทย์มอญมาสมัยหนึ่ง ในปัจจุบันมิได้พบเห็นในวงปี่พาทย์
อาจเป็นด้วยหาคนเป่าได้ยาก หรือความไม่รู้เท่า ตลอดจนความไม่ประณีตของผู้บรรเลง
ที่ใช้ปี่มอญเป่าในขณะบรรเลงเพลงไทยในวงปี่พาทย์มอญ
ซึ่งทำให้อรรถรสของเพลงไทยผิดเพี้ยนไป
ต่อมาเมื่อการค้นคว้าหาข้อเปรียบเทียบของปี่ทั้ง
4ชนิด พบว่าปี่นอกต่ำใช้เป่าอยู่ในวง "ตุ่มโมง "
ประกอบพิธีศพของผู้มีบันดาศักดิ์ทางภาคพื้นอีสานใต้มาแต่เดิม และในการเล่นโนราห์ชาตรีของชาวภาคใต้ในปัจจุบัน
พบว่าได้ใช้ปี่นอกต่ำเป่ากันเป็นพื้นฐาน
ปี่กลาง
เป็นปี่ที่มีสัดส่วนและเสียงอยู่กลางระหว่างปี่นอกกับปี่ใน
จึงเรียกปี่ชนิดนี้ว่า " ปี่กลาง"ใช้เป่าประกอบการเล่นหนังใหญ่มาแต่โบราณ
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดให้เกิดเสียง " ทางกลาง "ขึ้น
ปัจจุบันไม่ใคร่ได้พบเห็น มีวิธีการเป่าเช่นเดียวกับปี่นอกและปี่ใน เพียงแต่ผิด
กันที่นิ้วและระดับเสียง
ปี่ชวา
เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา
เข้าใจว่าเข้ามา เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก โดยเฉพาะในการเป่าเพลงประกอบการรำ
" กริช "ในเพลง " สะระหม่า" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น "
๑ " พบว่าปี่ชวาใช้เป่าร่วมกับกลองในกระบวนพยุหาดหยาดตราทางชลมารคและสถมาคร
นอกจากนั้นยังพบเห็นปี่ชวาเป่าประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง และการชกมวย
ปี่อ้อ
เป็นปี่ของไทยที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง ตัวเลาทำด้วยไม้ลวกปล้องเดียว ไม่มีข้อ
เขียนลวดลายด้วยการใช้ไฟลน หัวและท้ายเลี่ยมด้วยทองเหลือง หรือเงิน
ด้านหน้าเจาะรูสำหรับปิดเปิดนิ้วบังคับเสียง 7 รู และด้านหลังเป็นรูนิ้วค้ำ 1 รู
ลิ้นปี่นั้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็กๆ เหลาให้บาง ไว้ทางหนึ่งกลม
พันด้วยด้ายเพื่อให้กระชับพอที่จะเสียบเข้าไปในเลาปี่ อีกทางหนึ่งผ่าเจียนเป็น 2
ซีก ปลายมน ตัดไม้แบนเข้าแนบประกบ
ปี่จุ่ม
เป็นเครื่องเป่าอีกชนิดหนึ่งที่มีลิ้น
ที่ใช้ประกอบกับซอพื้นเมืองของล้านนาไทย
ซึ่งเดิมใช้เป่าแอ่วสาวของหนุ่มชาวเหนือไปตามละแวกหมู่บ้าน
เป็นเครื่องดนตรีประจำภาคเหนือ หรือล้านนา ปัจจุบันใช้เป่าร่วมสะล้อ ซึง กลองเมือง
(หรือกลองโป่งโป้ง) บรรเลงเพลงที่มีสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ มีชื่อเป็นนามว่า
" เล่ม "
แคน
เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ
ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ
เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย
จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย
ปี่มอญ
ปี่มอญ เป็นเครื่องเป่าในตระกูลปี่ ไทยได้แบบอย่างมาจากมอญ
ปี่ชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า"ตัวเลา" ทำด้วยไม้จริง
กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนปลายกลึงผายออกเล็กน้อย
ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่นสำหรับผูกเชือกโยงกับตัวลำโพง ที่ตัวเลาด้านหน้าเจาะรู
7 รู เรียงตามลำดับเพื่อเปิดปิดนิ้วบังคับเสียง ด้านหลังตอนบนเจาะอีก 1
รูเป็น"รูนิ้วคำ" อีท่อนหนึ่งเรียกว่าลำโพง ทำด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส
ลักษณะคล้ายดอกลำโพง แต่ใหญ่กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น
ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว ตัวเลาปี่จะสอดใส่เข้าไปในลำโพง
โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน"สับปลาช่อน"
ยึดระหว่างลูกแก้วลำโพงปี่กับลูกแก้วตอนบนของตัวเลาปี่ เพื่อไม่ให้หลุดออกจากกันง่ายๆ
เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น
ขลุ่ยลิบ
ขลุ่ยหลีบมีชื่อเต็มว่า ขลุ่ยหลีบเพียงออ ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ
มีขนาดเล็กและสั้นกว่าขลุ่ยเพียงออ ใช้ไม้รวกขนาดเล็กปล้องสั้นๆ
เสียงจึงแหลมสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม
เช่นเดียวกันแต่เป็นวงเครื่องคู่ หรือ เครื่องใหญ่
ขลุ่ยอู้
ขลุ่ยอู้เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ที่สุด ต้องใช้ไม้รวกลำใหญ่ปล้องยาวทำ
ขลุ่ยชนิดนี้จึงมีเสียงทุ้มตำมาก และมี เสียงคล้ายซออู้ จึงเรียก
ขลุ่ยอู้ เคยใช้ในวงเครื่องสายวงใหญ่
แต่เนื่องจากหาขลุ่ยและคนเป่าได้ยากขึ้น จึงไม่นำมาผสมวงในระยะหลัง นี้
จะพบบ้างในวงปี่พาทย์
ดึกดำบรรพ์ แต่เดี่ยวนี้ขลุ่ยอู้ชักจะหายไป
คงเหลือแต่ขลุ่ยเพียงออกับขลุ่ยหลีบเท่านั้น
ขลุ่ยเพียงออ
เป็นขลุ่ยที่มีเสียงปานกลางมีขนาดกลาง ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี
วงปี่พาทย์ ไม้นวม และวงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์เป็นเครื่อง
ดนตรีที่น่าส่งเสริมให้ฝึกหัดกันมากๆ
เพราะราคาไม่แพงรูปร่างกระทัดรัด นำติดตัวไปได้สะดวก เสียงไพเราะ
ผู้สนใจจะฝึกได้ไม่ยากนัก
เมื่อนำเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงเพลงรวมกันก็จะได้ดนตรีบรรเลงดังต่อไปนี้
...เพลง ลาวดวงเดือน...
...เพลงลาวเสียงเทียน...
...เพลงค้างคาวกินกล้วย...
...เพลงเขมรไทรโยค...
...เพลงแขกบรเทศ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น