วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติดนตรีไทย

จากการสันนิษฐานของท่านผู้รู้ทางด้าน ดนตรีไทย โดยการพิจารณาหาเหตุผล เกี่ยวกับกำเนิด หรือที่มาของ ดนตรีไทย ก็ได้มีผู้เสนอแนวทัศนะในเรื่องนี้ไว้ 2 ทัศนะ
ที่แตกต่างกันคือ
         ทัศนะที่ 1 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย
ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี ปรากฎรูปร่าง
ลักษณะ เครื่องดนตรี ของประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย เช่น จีน เขมร พม่า อินโดนิเซีย และ มาเลเซีย มีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเหล่านั้นต่างก็
ยึดแบบฉบับดนตรี ของอินเดีย เป็นบรรทัดฐาน รวมทั้งไทยเราด้วย เหตุผลสำคัญที่ท่านผู้รู้
ได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
1.เครื่องดีด
2.เครื่องสี
3.เครืองตี
4.เครื่องเป่า
         ใกล้เคียงกับลักษณะ เครื่องดนตรี อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ "สังคีตรัตนากร" ของอินเดีย ซึ่งจำแนกเป็น 4 ประเภท เช่นกันคือ
1.ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
2.สุษิระ คือ เครื่องเป่า
3.อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
4.ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
         การสันนิษฐานเกี่ยวกับ กำเนิดหรือที่มาของ ดนตรีไทย ตามแนวทัศนะข้อนี้ เป็นทัศนะที่มีมาแต่เดิม นับตั้งแต่ ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับ เรื่องนี้ขึ้น และนับว่า เป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็น
ผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย

         ทัศนะที่ 2 สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว
ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ของตนด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าในภายหลัง จะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับลักษณะและนิสัยทางดนตรีของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้
ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่น
เกราะ, โกร่ง, กรับฉาบ, ฉิ่ง, ปี่, ขลุ่ย, ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น
         ต่อมาเมื่อไทยได้ อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีน จึงได้มาพบ
วัฒนธรรมแบบอินเดียโดยเฉพาะเครื่องดนตรีอินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทยซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรี
ที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่
-พิณ
-สังข์
-ปี่ไฉน
-บัณเฑาะว์
-กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น
         ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการติดต่อ สัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตก

บางประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศต่างๆ เหล่านั้นมาใช้เล่นในวงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น


เครื่องดนตรีไทยประเภทดีด

               คือเครื่องดนตรีประเภทที่มีสาย ตั้งแต่สายเดียวจนถึง 7 สาย เกิดเสียงได้โดยการดีดด้วยมือข้างหนึ่ง และมืออีกข้างหนึ่งกดสายตามเสียงที่ต้องการ ลักษณะของเครื่องดนตรีประเภทนี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นกระพุ้ง บางทีก็เรียกว่า กะโหลก" เพื่อสำหรับทำให้เสียงที่ดีดดังก้องกังวาน มีคันทวน ลูกบิด สะพานหนู หรือนม เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเสียง แต่เดิมเครื่องดนตรีที่มีสายใช้ดีด เราเรียกตามบาลีและ สันสฤกษว่า พีณ ต่อมาบัญญัตชื่อเรียกใหม่ตามรูปร่าง ตามวัสดุ หรือตามภาษาของชาตินั้นๆ เช่น กระจับปี่ พิณน้ำเต้า พิณเพี๊ยะ และจะเข้ เป็นต้น

กระจับปี่





  กระจับปี่  เป็นพิณชนิดหนึ่ง มี ๔ สายกระพุ้งพิณมีลักษณะ เป็นกล่องแบน
รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูมุมมน ด้านหน้าทำเป็นช่องให้เสียงกังวาน
ทวนทำเป็นก้านเรียวยาวและกลมกลึงปลายแบน และงอนโค้งไปด้านหลัง
ตรงปลายทวนมีลิ่มสลักเป็นลูกบิดไม้สำหรับขึ้นสาย ๔ ลูก สายส่วนมากทำด้วยสายเอ็น
หรือลวดทองเหลืองตลอดแนวทวนด้านหน้าทำเป็น สะพานหรือ นม ปักทำด้วยไม้
เขาสัตว์หรือกระดูกสัตว์สำหรับหมุนสายมี ๑๑ นมบนหน้ากระพุ้งพิณมีชิ้นไม้หรือชิ้นโลหะ
รองสายไว้เรียกว่า หย่องทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงสะเทือน จากการดีดสายลงมาสู่
ตัวกระพุ้งพิณเวลาบรรเลงใช้นิ้วจับไม้ดีดเขี่ยสาย เพื่อให้เกิดเสียง ไม้ดีดปักทำด้วยงาช้าง
เขาสัตว์ หรือวัสดุที่มีลักษณะ แบนและบางกระจับปี่พัฒนามาจากเครื่องดนตรี
ประเภทหนึ่งของอินเดียมีต้นกำเนิดจากการดีดสายธนู ตามหลักฐานพบว่า
กระจับปี่มีมาตั้งแต่ สมัยสุโขทัย


จะเข้



   จะเข้  สัณนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็น รูปร่างเหมือน จระเข้
ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา และคงเล่นอย่างบรรเลงเดียว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้นำจะเข้เข้ามาผสมแทนกระจับปี่เพราะเสียงดีกว่าและดีดได้
สะดวกกว่าจะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอนทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน
นิยมใช้ไม้แก่นขนุนเพราะให้เสียงกังวาลดีด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา
เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง)
สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียวสายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ)
ทำด้วยลวดทองเหลืองทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง)
ไปพาดกับหย่องแล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูกโต๊ะนี้
ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้นระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ
ทำเป็นสันหนาเรียกว่า นม๑๑ นม วางเรียงไปตามแนวยาว
เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือขณะบรรเลง นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป
ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดพิณน้ำเต้า จะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม
ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวาส่วนมือซ้ายใช้
กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อยเพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ


พิณน้ำเต้า



  พิณน้ำเต้า   สันนิษฐานว่า พิณมีกำเนิดในประเทศ ทางตะวันออก พิณโบราณเรียนพิณน้ำเต้า
ซึ่งมีลักษณะเป็น พิณสายเดี่ยว สันนิษฐานว่าชาวอินเดียนำมาแพร่หลายในดินแดนสุวรรณภูมิ
การที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า เพราะใช้ เปลือกผลน้ำเต้ามาทำคันพิณที่เรียกว่า ทวน ทำด้วยไม้เหลา
ให้ปลายข้างหนึ่งเรียวงอนโค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ที่โคนทวน เจาะรูแล้วเอาไม้มาเหลาทำลูกบิด
สำหรับบิดให้สายตึงหรือหย่อน เพื่อให้เสียงสูงต่ำสายพิณมีสายเดียวเดิมทำด้วยเส้นหวาย
ต่อมาใช้เส้นไหมและใช้ลวดทองเหลืองในปัจจุบันการดีดพิณน้ำเต้า  ปกติผู้ดีดจะไม่สวมเสื้อ
ใช้มือซ้ายจับทวนเอากะโหลกพิณประกบติดกับเนื้อที่อกเบื้องซ้าย ใช้มือขวาดีดสายขยับ
กะโหลกปิดเปิดที่ทรวงอกเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามที่ต้องการใช้นิ้วมือซ้ายช่วยกดหรือเผยอ
เพื่อให้สายตึงหย่อน การดีด เป็นต้น



เครื่องดนตรีไทยประเภทสี

เครื่องสี เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทยเรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ ซอสามสาย ซออู้ และซอด้วงที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้แก่ สะล้อ สำหรับประเทศทางตะวันตก เครื่องดนตรีประเภทนี้ได้แก่ ไวโอลินและไวโอลา เป็นต้น

 ซอด้วง

   ซอด้วง เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย ให้เสียงสูงแหลม การที่ได้ชื่อนี้เพราะส่วนที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
- กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้
- คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง"
- ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก
- รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง
- หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ
- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม สำหรับสี
การเทียบเสียง เทียบเสียงให้ตรงกับเสียงขลุ่ยเพียงออ ทั้งสายเอกและสายทุ้ม โดยใช้สายเอกเป็นหลัก

ซอสามสาย


   ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชสำนัก มีส่วนประกอบ ดังนี้
- กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี
- คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไปรวมทั้งเข็มที่ทำด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด
- ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างสำหรับสายเอก ลูกบนสำหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว สำหรับสายทุ้ม หรือสายสาม
- รัดอก มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวนกลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน
- หย่อง ทำด้วยไม้หรืองา เหลาเป็นรูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามตำแหน่ง เพื่อรอง
- ถ่วงหน้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสีต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ำหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับเสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้มรับสายซอ
- หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสายบ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลาย
สายซอทั้งสาม- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งและเหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น

ซออู้


   ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายซอด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้
- กะโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่กว้างใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
- คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กะโหลกลงไป เพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
-ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำให้ด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
- รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน
- หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกับวาน บางทีเรียกว่า หย่อง
- คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ ๒๕๐ เส้น เส้นหางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม

การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก ๕ เสียง



เครื่องดนตรีไทยประเภทตี

ดนตรีประเภทเครื่องตีดูเหมือนจะเป็นประเภทเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักใช้และเครื่องดนตรีของไทยก็เช่นกัน โดยทั่วไป เครื่องตีเป็นของเก่าแก่ของไทย แต่ก็ได้แก้ไขปรับปรุงให้วิวัฒนาการมาโดยลำดับ เครื่องตีที่ใช้ ในวงดนตรีของไทยอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
(๑)เครื่องตีทำด้วยไม้
(๒)เครื่องตีทำด้วยโลหะ
(๓)เครื่องตีขึงด้วยหนัง

      เครื่องตีทั้ง ๓ จำพวกนี้ จะกล่าวถึงแต่ละอย่างทั้งประเภทที่เข้าใจว่าไทยเราได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง และทั้งประเภทที่ได้รับแบบอย่างจากชาติอื่น แล้วนำมาใช้หรือแก้ไขดัดแปลงใช้อยู่ในวงดนตรีของไทย

ะนาดเอก

   ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"

   วิธีตี เมื่อตีตามจังหวะของลูกระนาดแล้วจะเกิดเสียงกังวาล ลดหลั่นกันไปตามลูกระนาด ระนาดที่ให้เสียงแกร่งกร้าว อันเป็นระนาดดั้งเดิมเรียกว่า ระนาดเอก


ตะโพน


   ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนังเรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" สำหรับใช้ร้อยหนังเรียดโยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมดตอนกลางหุ่นใช้หนังเรียดพัน โดยรอบเรียกว่า "รัดอก" หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้สองหน้าตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ผู้ที่นับถือพระประคนธรรพว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรีได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่องแทน พระประคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็นเครื่องควบคุมจังหวะที่สำคัญที่สุด


กรับเสภา

   กรับเสภา ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีสันมน

   วิธีตี การตีใช้ขยับมือที่ละคู่ การขับเสภาใช้กรับสองคู่ ถือมือละคู่ ผู้ขับเสภาจะขยับกรับ สองคู่นี้ตามท่วงทำนองที่เรียกเป็นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้กรอ ไม้หนึ่ง ไม้รบ หรือไม้สี่



เครื่องดนตรีไทยประเภทเป่า

เครื่องเป่า หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้ลมเป่าให้เกิดเสียง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ
    1. ประเภทที่มีลิ้น ซึ่งทำด้วยใบไม้ หรือไม้ไผ่ หรือโลหะ สำหรับเป่าลมเข้าไปในลิ้นๆจะเกิดความเคลื่อนไหวทำให้เกิดเสียงขึ้น เรียกว่า " ลิ้นปี่ " และเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้ว่า " ปี่ "
    2. ประเภทไม่มีลิ้น มีแต่รูบังคับให้ลมที่เป่าหัก มุมแล้วเกิดเป็นเสียง เรียกว่า " ขลุ่ย "
ทั้งปี่และขลุ่ย มีลักษณะเป็นนามว่า " เลา "มีวิธีเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การเป่าด้วยการระบายลม ซึ่งให้เสียงปี่ดังยาวนานติดต่อกันตลอด

เครื่องเป่าที่มีลิ้น

ปี่ใน


   เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มา แต่โบราณ ที่เรียกว่า "ปี่ใน " ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้ เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า " เสียงใน " ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเป็นพื้นฐาน ตัวเลา ทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้พยุง กลึงให้ป่องกลาง และบานปลายทั้งสองข้าง ภายในเจาะเป็นรูกลวงตลอดหัวท้าย มีรูสำหรับเปิดปิดนิ้ว 6รู โดยให้ 4 รูบนเรียงลำดับเท่ากัน เว้นห่างพอควรจึงเจาะอีก 2 รู ระหว่างช่องตอนกลางของแต่ละรู จะกรีดเป็นเส้น ประมาณ 3เส้นเพื่อให้สวยงาม ตอนหัวและตอนท้าย ของเลาปี่จะมีวัสดุกลมแบน ทำด้วยยาง หรือไม้มาเสริม โดยเฉพาะตอนบนสำหรับสอดใส่ลิ้นปี่เรียกว่า " ทวนบน " ส่วนตอนล่างจะใช้ตะกั่วมาต่อ สำหรับลดเลื่อนเสียงเรียกว่า " ทวนล่าง " ตัวเลาปี่นอกจากจะทำด้วยไม้ แล้วยังพบปี่ซึ่งทำด้วยหิน เป็นของเก่าแต่โบราณ


ปี่นอก


   มีขนาดเล็กสุด ใช้เป่าในวงปี่พาทย์ชาตรี ในการเล่นโนราห์ หนังลุง และละครชาตรี ต่อมาได้เข้ามาบรรเลงผสมในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่และ เครื่องใหญ่ โดยเป่าควบคู่ไปกับปีใน มีระดับเสียง สูงกว่าปีใน มีวิธีเป่าคล้ายคลึงกับปี่ใน
ปี่นอกต่ำ มีขนาดใหญ่กว่าปี่นอก มีเสียงต่ำกว่าปี่นอก จึง เรียกว่า " ปี่นอกต่ำ " เคยใช้เป่าในวงปี่พาทย์มอญมาสมัยหนึ่ง ในปัจจุบันมิได้พบเห็นในวงปี่พาทย์ อาจเป็นด้วยหาคนเป่าได้ยาก หรือความไม่รู้เท่า ตลอดจนความไม่ประณีตของผู้บรรเลง ที่ใช้ปี่มอญเป่าในขณะบรรเลงเพลงไทยในวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งทำให้อรรถรสของเพลงไทยผิดเพี้ยนไป
ต่อมาเมื่อการค้นคว้าหาข้อเปรียบเทียบของปี่ทั้ง 4ชนิด พบว่าปี่นอกต่ำใช้เป่าอยู่ในวง "ตุ่มโมง " ประกอบพิธีศพของผู้มีบันดาศักดิ์ทางภาคพื้นอีสานใต้มาแต่เดิม และในการเล่นโนราห์ชาตรีของชาวภาคใต้ในปัจจุบัน พบว่าได้ใช้ปี่นอกต่ำเป่ากันเป็นพื้นฐาน


ปี่กลาง

    เป็นปี่ที่มีสัดส่วนและเสียงอยู่กลางระหว่างปี่นอกกับปี่ใน จึงเรียกปี่ชนิดนี้ว่า " ปี่กลาง"ใช้เป่าประกอบการเล่นหนังใหญ่มาแต่โบราณ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดให้เกิดเสียง " ทางกลาง "ขึ้น ปัจจุบันไม่ใคร่ได้พบเห็น มีวิธีการเป่าเช่นเดียวกับปี่นอกและปี่ใน เพียงแต่ผิด กันที่นิ้วและระดับเสียง

ปี่ชวา

    เป็นเครื่องเป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีลิ้น ซึ่งนำแบบอย่างมาจากชวา เข้าใจว่าเข้ามา เมืองไทยในคราวเดียวกับกลองแขก โดยเฉพาะในการเป่าเพลงประกอบการรำ " กริช "ในเพลง " สะระหม่า" ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น " ๑ " พบว่าปี่ชวาใช้เป่าร่วมกับกลองในกระบวนพยุหาดหยาดตราทางชลมารคและสถมาคร นอกจากนั้นยังพบเห็นปี่ชวาเป่าประกอบการเล่นกระบี่-กระบอง และการชกมวย

ปี่อ้อ

   เป็นปี่ของไทยที่เก่าแก่อย่างหนึ่ง ตัวเลาทำด้วยไม้ลวกปล้องเดียว ไม่มีข้อ เขียนลวดลายด้วยการใช้ไฟลน หัวและท้ายเลี่ยมด้วยทองเหลือง หรือเงิน ด้านหน้าเจาะรูสำหรับปิดเปิดนิ้วบังคับเสียง 7 รู และด้านหลังเป็นรูนิ้วค้ำ 1 รู ลิ้นปี่นั้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็กๆ เหลาให้บาง ไว้ทางหนึ่งกลม พันด้วยด้ายเพื่อให้กระชับพอที่จะเสียบเข้าไปในเลาปี่ อีกทางหนึ่งผ่าเจียนเป็น 2 ซีก ปลายมน ตัดไม้แบนเข้าแนบประกบ

ปี่จุ่ม

    เป็นเครื่องเป่าอีกชนิดหนึ่งที่มีลิ้น ที่ใช้ประกอบกับซอพื้นเมืองของล้านนาไทย ซึ่งเดิมใช้เป่าแอ่วสาวของหนุ่มชาวเหนือไปตามละแวกหมู่บ้าน เป็นเครื่องดนตรีประจำภาคเหนือ หรือล้านนา ปัจจุบันใช้เป่าร่วมสะล้อ ซึง กลองเมือง (หรือกลองโป่งโป้ง) บรรเลงเพลงที่มีสำเนียงเหนือได้อย่างไพเราะ มีชื่อเป็นนามว่า " เล่ม "

แคน

   เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย


ปี่มอญ

   ปี่มอญ เป็นเครื่องเป่าในตระกูลปี่ ไทยได้แบบอย่างมาจากมอญ ปี่ชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า"ตัวเลา" ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนปลายกลึงผายออกเล็กน้อย ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่นสำหรับผูกเชือกโยงกับตัวลำโพง ที่ตัวเลาด้านหน้าเจาะรู 7 รู เรียงตามลำดับเพื่อเปิดปิดนิ้วบังคับเสียง ด้านหลังตอนบนเจาะอีก 1 รูเป็น"รูนิ้วคำ" อีท่อนหนึ่งเรียกว่าลำโพง ทำด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส ลักษณะคล้ายดอกลำโพง แต่ใหญ่กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว ตัวเลาปี่จะสอดใส่เข้าไปในลำโพง โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน"สับปลาช่อน" ยึดระหว่างลูกแก้วลำโพงปี่กับลูกแก้วตอนบนของตัวเลาปี่ เพื่อไม่ให้หลุดออกจากกันง่ายๆ

เครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น


 ขลุ่ยลิบ

   ขลุ่ยหลีบมีชื่อเต็มว่า ขลุ่ยหลีบเพียงออ ใช้เป่าคู่กับขลุ่ยเพียงออ มีขนาดเล็กและสั้นกว่าขลุ่ยเพียงออ ใช้ไม้รวกขนาดเล็กปล้องสั้นๆ เสียงจึงแหลมสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม เช่นเดียวกันแต่เป็นวงเครื่องคู่ หรือ เครื่องใหญ่

ขลุ่ยอู้


   ขลุ่ยอู้เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ที่สุด ต้องใช้ไม้รวกลำใหญ่ปล้องยาวทำ ขลุ่ยชนิดนี้จึงมีเสียงทุ้มตำมาก และมี เสียงคล้ายซออู้ จึงเรียก
ขลุ่ยอู้ เคยใช้ในวงเครื่องสายวงใหญ่ แต่เนื่องจากหาขลุ่ยและคนเป่าได้ยากขึ้น จึงไม่นำมาผสมวงในระยะหลัง นี้ จะพบบ้างในวงปี่พาทย์
ดึกดำบรรพ์ แต่เดี่ยวนี้ขลุ่ยอู้ชักจะหายไป คงเหลือแต่ขลุ่ยเพียงออกับขลุ่ยหลีบเท่านั้น


ขลุ่ยเพียงออ

   เป็นขลุ่ยที่มีเสียงปานกลางมีขนาดกลาง ใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ ไม้นวม และวงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์เป็นเครื่อง
ดนตรีที่น่าส่งเสริมให้ฝึกหัดกันมากๆ เพราะราคาไม่แพงรูปร่างกระทัดรัด นำติดตัวไปได้สะดวก เสียงไพเราะ ผู้สนใจจะฝึกได้ไม่ยากนัก




  เมื่อนำเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงเพลงรวมกันก็จะได้ดนตรีบรรเลงดังต่อไปนี้

...เพลง ลาวดวงเดือน...




...เพลงลาวเสียงเทียน...




...เพลงค้างคาวกินกล้วย...




...เพลงเขมรไทรโยค...




...เพลงแขกบรเทศ...